วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

น่าน

:: ชมพูภูคา แหล่งเดียวที่พบได้บนดอยภูคา ::
ชมพูภูคา แหล่งเดียวที่พบได้บนดอยภูคา

นี่คือที่เดียวในโลกซึ่งสามารถพบเห็นดอกไม้ชนิดนี้ ชมพูภูคาพันธุ์ไม้ที่ได้ชื่อว่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ที่สุดในโลกชนิดที่ดอย ภูคา จ.น่าน พันธุ์ไม้ชนิดนี้จึงหลงเหลืออยู่ในโลกเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ประเทศ ไทย ในรอบ 1 ปี พันธุ์ไม้ชนิดนี้จะออกดอกสีชมพูเป็นช่อสวยสดใสเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น
:: ที่สุดในเมืองไทย สุดยอดผจญภัย ไปล่องแก่งน้ำว้าตอนกลาง ::
ที่สุดในเมืองไทย สุดยอดผจญภัย ไปล่องแก่งน้ำว้าตอนกลาง

ลำน้ำว้า ท้าทายนักผจญภัยให้ไปสัมผัส ผืนป่ากว้างใหญ่ ลำน้ำสวยใส เหลือแต่ใจว่าคุณพร้อมหรือไม่เพราะแก่งที่นี่ได้ชื่อว่าโหดที่สุดในเมืองไทย นี่คือสุดยอดความประทับใจที่คุณจะไม่มีวันลืมในชีวิต
 
:: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ::
อยู่ที่ถนนผากอง ตรงข้ามกับวัดพระธาตุช้างค้ำ ใกล้กับวัดภูมินทร์ เป็นอาคารแบบยุโรปซึ่งเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5 ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองน่าน เดิมเป็น "หอคำ" ซึ่งเป็นที่ประทับและที่ว่าราชการของ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2475 ใช้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดแห่งแรก ของจังหวัดน่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 อาคารแห่งนี้ได้รับการปรับปรุงอีกครั้งให้เป็นสถานที่ตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
 
:: หมู่บ้านไทยลื้อหนองบัว ::
อยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา จากตัวเมืองน่านใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1080 ระยะทาง 41 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอท่าวังผามีทางแยกซ้ายไปอีก 3 กิโลเมตร หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านที่มีฝีมือในการทอผ้าพื้นเมือง ที่สวยงาม เรียกว่า "ผ้าลายน้ำไหล" ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน นับเป็นหัตถกรรมที่ตกทอดมาหลายยุค หลายสมัย
 
:: อนุสาวรีย์วีรกรรม พลเรือน ตำรวจ ทหาร และ พิพิธภัณฑ์ทหารทุ่งช้าง ::
สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรชนผู้พลีชีพเพื่อปกป้องแผ่นดินไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดและวางพวงมาลา เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2519 จึงถือเอาวันที่ 10 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันวางพวงมาลา และบำเพ็ญกุศลแก่วีรชน สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 1080 สายน่าน - ทุ่งช้าง หลักกิโลเมตรที่ 84 และ พิพิธภัณฑ์ทหารทุ่งช้าง จัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหารให้ศึกษาหาความรู้
 
:: ล่องแก่งลำน้ำว้า ::
ที่บ้านน้ำปุ๊ ตำบลน้ำพางห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 59 กิโลเมตร น้ำว้าเป็นลำน้ำขนาดใหญ่ น้ำใสไหลตลอดปีมี ทัศนียภาพสวยงาม สองฝั่งเขียวชอุ่มไปด้วยป่าไม้ โขดหิน เกาะแก่งที่สวยงามและแก่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดคือแก่งหลวง มีหาดทรายขาวเหมาะสำหรับตั้งแคมป์มีบริการนั่งช้างชมธรรมชาติ
 
:: ต้นดิกเดียม วัดปรางค์ ::
ต้นดิกเดียม ต้นไม้อะไรใครรู้ดูประหลาดผิดธรรมชาติ พันธุ์พฤกษาน่าฉงน แค่เห็นเป็นต้นไม้หันหลังให้แดดหันหน้า เข้าวัดก็แปลกเหลือหลายอยู่แล้ว แต่ใครจะเชื่อว่าต้นไม้ ประหลาดต้นนี้เป็นต้นอารมณ์ขัน ใบไม้จะไหวสั่นทุกครั้ง ที่ถูกคนสัมผัส 

วันเวลาที่แนะนำ
 ต้นดิกเดียม สามารถไปชมได้ทุกวัน แต่ไม่ควรไปลูบคลำเนื่องจากในประเทศไทยมีอยู่ต้นเดียว เจ้าอาวาสที่วัดท่านจะลูบให้ดู 

การเดินทาง
 จากจังหวัดน่านเดินทางด้วยทางหลวงหมายเลข 1080 และ 1256 สู่อำเภอปัว ก่อนถึงตัวอำเภอ เล็กน้อยมีทางแยกซ้ายเข้าสู่วัดปราง ซึ่งเป็นที่ตั้งของต้นดิกเดียม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคเหนือ เขต 2 โทร. 0 - 5371 - 7433, 0 - 5374 - 4674 - 5
 
:: บ่อเกลือสินเธาว์ ::
พื้นที่บนยอดเขาสูงเสียดเมฆอย่างอำเภอบ่อเกลือ ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นแหล่งเกลือที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ เมืองน่านเป็นแหล่งเกลือขนาดใหญ่ ส่งเป็นสินค้าออกในภาคเหนือ และแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าที่ชุมชนผลิตไม่ได้ ผ่านกองคาราวานจีนฮ่อจากยูนาน กวางสี และมณฑลอื่นๆ ในจีน โดยใช้เส้นทางผ่านมาทางสิบสองปันนา รัฐฉาน สู่เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เมืองสา (อำเภอเวียงสาในปัจจุบัน) และแพร่ รวมทั้งพ่อค้าไทเขินจากเชียงตุง และพ่อค้าวัวต่างชาวไทลื้อจากอำเภอท่าวังผา ในอดีตท้าวพญาในเค้าสนามหลวงได้รับส่วนแบ่งจากส่วยเกลือ นอกจากค่าธรรมเนียม และค่าปรับอื่นๆ พระยาติโลกราชแห่งเชียงใหม่ยกทัพมาตีน่านก็มุ่งหวังครอบครอง บ่อเกลือซึ่งถือเป็นยุทธปัจจัยสำคัญสมัยนั้น บ่อเกลือสินเธาว์ อยู่ห่างจากตัวเมืองน่าน 80 กิโลเมตร ชาวอำเภอบ่อเกลือนอกจากจะมีอาชีพทำนาทำไร่แล้วยังมีอาชีพทำเกลือสินเธาว์อีกด้วย โดยมีแหล่งเกลือสินเธาว์ อยู่บนภูเขา (บ่อเกลือจะปิดช่วงเข้าพรรษาเพราะเป็นช่วงฤดูฝน) บ่อเกลือสำคัญในน่านมี 2 แห่ง คือบริเวณต้นน้ำว้า ซึ่งมีบ่อเกลือใหญ่ 2 บ่อ อีกแห่งคือบริเวณต้นน้ำน่าน มีบ่อใหญ่ 5 บ่อและมีบ่อเล็กบ่อน้อยอีกจำนวนมาก ปัจจุบันชาวบ้านยังคงต้มแกลือด้วยวิธีแบบดั้งเดิม จะตักน้ำเกลือจากบ่อส่งผ่านมาตามลำไม้ไผ่สู่บ่อพัก ก่อนจะนำน้ำเกลือมาต้มในกะทะใบบัวขนาดใหญ่เคี่ยวจนน้ำงวดแห้ง ใส่ถุงวางขายกันหน้าบ้าน เกลือเมืองน่านไม่มีไอโอดีนเหมือนเกลือทะเลจึงต้องมีการเติมสารไอโอดีนก่อนถึงมือผู้บริโภค บ่อเกลือสินเธาว์ อยู่ห่างจากตัวเมืองน่าน 80 กิโลเมตร ชาวอำเภอบ่อเกลือนอกจากจะมีอาชีพทำนาทำไร่แล้วยังมีอาชีพ ทำเกลือสินเธาว์อีกด้วย โดยมีแหล่งเกลือสินเธาว์อยู่บนภูเขา (บ่อเกลือจะปิดช่วงเข้าพรรษาเพราะเป็นช่วงฤดูฝน)
 
:: เสาดินนาน้อย(ฮ่อมจ๊อม) และคอกเสือ ::
อยู่ที่ตำบลเชียงของ ห่างจากตัวเมืองน่าน 60 กิโลเมตร จากอำเภอนาน้อยมีทางแยกไปตามเส้นทางหมายเลข 1083 ประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นเสาดินที่มีลักษณะแปลกตาคล้าย "แพะเมืองผี" ที่จังหวัดแพร่ จากหลักฐานทางธรณีวิทยา พบว่าเสาดินนาน้อยเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในยุคเทอร์เชียรีตอนปลาย (late tertian) ประกอบกับการกัดเซาะของน้ำและลมตามธรรมชาติ นักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว เคยเป็นก้นทะเลมาก่อน และจากหลักฐานการค้นพบกำไลหินและขวานโบราณที่นี่ (ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน) แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้อาจเคยเป็นแหล่งอาศัย ของมนุษย์ยุคหินเก่า
 
:: ตลาดชายแดนบ้านห้วยโก๋น ::
อยู่บริเวณด่านผ่านแดนบ้านห้วยโก๋น ด่านตรงข้ามคือเมืองน้ำเงินแขวงไชยะบุรี สาธารณรัประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) อยู่ห่างจากเมืองน่าน 138 กิโลเมตร ตลาดจะมีทุกวันเสาร์ เริ่มตั้งแต่เช้าถึงประมาณใกล้เที่ยง สินค้าที่เข้ามาจำหน่ายส่วนใหญ่เป็นผ้าทอลายน้ำไหล ฝีมือชาวไทลื้อ จากบ้านเมืองเงิน หงสา ของ สปป.ลาว นอกจากนั้น ยังมีสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ของป่า ลูกต๋าว เป็นต้น อนุญาตให้ประชาชนไทย - ลาว เข้าออกด่านนี้ทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00 - 17.00 น.ศึกษาขั้นตอนการผ่านแดนไทย - ลาว ในรายละเอียด
 
:: อนุสรณ์สถานยุทธภูมิบ้านห้วยโก๋นเก่า ::
เดิมเคยเป็นฐานปฏิบัติการของกองพันทหารราบที่ 3 ในบริเวณฐานปฏิบัติการยังคงรักษาสภาพเดิมไว้เพื่อให้อนุชน รุ่นหลังได้ศึกษา มีสนามเพลาะ แนวกับระเบิด คลังอาวุธ จุดที่ทหารไทยเสียชีวิตในบริเวณเดียวกับยุทธภูมิยังมี ฐานสู้รบเหล่าผู้กล้า ฐานทหารเก่าที่บ้านห้วยโก๋น ตำบลห้วยโก๋น เป็นสมรภูมิการสู้รบในอดีต เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2518 ผกค.ได้เข้าโจมตี ทำให้ทหารในสังกัดทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ ฐานแห่งนี้ 69 นาย เสียชีวิต 17 นาย ฝ่าย ผกค. บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ฝ่ายทหารสามารถรักษาฐานปฏิบัติการแห่งนี้ไว้ได้ ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของลัทธิ การปกครองที่แตกต่างกัน ภายในฐานยังมีบริการบ้านพักแก่นักท่องเที่ยวติดต่อได้ที่กองพันทหารราบที่ 15 หรือ หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานจู่โจม ค่ายสุริยะพงษ์ โทร. 0 5471 0321, 0 5471 3324
 
:: น้ำตกภูฟ้า ::
เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา สูงประมาณ 140 เมตร มีทั้งหมด 12 ชั้น ใช้เวลาไป - กลับ ชมน้ำตก 3 วัน 2 คืน ควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง
 
:: ถ้ำผาฆ้อง ::
   
ต้องเดินเท้าผ่านป่าร่มรื่นเข้าไปประมาณ 3.5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลางบริเวณปากถ้ำจะมีขนาดเล็ก ในถ้ำมีคูหาซึ่งมีหินงอกหินย้อย มีทางน้ำไหลผ่าน พื้นถ้ำเป็นดินเหนียวลื่นมาก ไม่ควรเข้าชมในช่วงฤดูฝนเพราะอาจ มีน้ำท่วมในถ้ำ ควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1256 สู่อำเภอปัวประมาณกิโลเมตรที่ 18 มีทางแยกสู่โรงเรียนนาสวรรค์ บ้านป่าไร่ ต้องจอดรถไว้ที่โรงเรียนแล้วเดินเท้าไปประมาณ 3.5 กิโลเมตร
 
:: ถ้ำผาแดง ::
  
อยู่ที่บ้านมณีพฤกษ์ หมู่ที่ 11 ตำบลงอบ เป็นถ้ำที่มีความสวยงามและยาวมากที่สุดในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม ยังมีน้ำตกและลำธารขนาดใหญ่ภายในถ้ำอีกด้วยในอดีตถ้ำผาแดง เป็นฐานที่ตั้ง หลบภัยของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยภายในถ้ำยังปรากฏร่องรอยของที่พัก เตียงนอนของทหาร เตียงนอนคนไข้ บางเตียงยังอยู่ในสภาพที่ใช้ได้ หลุมที่ฝังซ่อนอาวุธ เศษถาดอาหาร (ถาดหลุม) และเครื่องใช้ 
การเดินทาง
 ต้องเดินเท้าประมาณ 3 ชั่วโมง ลัดเลาะเนินเขา ซึ่งจะได้ชมความสวยงามของธรรมชาติ พันธุ์ไม้ และสัตว์ป่าต่างๆ บ้านของชาวเผ่าม้งที่อาศัยอยู่อย่างธรรมชาติกลางหุบเขา
 
:: หมู่บ้านประมงปากนาย ::
ปากนาย เดิมเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำน่าน หลังการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ หมู่บ้านปากนายได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอ่างเก็บน้ำ เหนือเขื่อน ซึ่งมีลักษณะเหมือนทะเลสาบขนาดใหญ่ โอบล้อมด้วยทิวเขาเขียวขจี ชาวบ้านปากนายประกอบ อาชีพประมง มีแพร้านอาหารให้เลือกชิมปลาจากเขื่อน เช่น ปลากด ปลาบู่ ปลาคัง ปลาแรด ปลาทับทิม เป็นต้น และบางแห่งทำเป็นห้องพักไว้บริการนักท่องเที่ยว จากบ้านปากนายสามารถเช่าเรือล่องไปตามลำน้ำน่าน สู่อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ มีทิวทัศน์เป็นป่าเขาสวยงาม เกาะแก่ง เรือนแพ ชาวประมง ในช่วงนอกฤดูฝน จะมีแพลาก ไปวัดปากนาย สามารถนั่งรับประทานอาหารบนเรือได้ ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง และมีแพขานยนต์ข้ามฟากไปยัง อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ 

การเดินทาง
 อยู่ที่ตำบลนาทะนุง ห่างจากตัวจังหวัด 96 กิโลเมตร ใช้เส้นทางน่าน - เวียงสา - นาน้อย จากอำเภอนาน้อย จะมีทางแยกไปถึงอำเภอนาหมื่นราว 20 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1339 จะเป็นทางลาดยางคดเคี้ยวไปตามไหล่เขาอีกประมาณ 25 กิโลเมตร จึงถึงบ้านปากนาย
 
:: ผาชู้ หรือ ผาเชิดชู ::
บริเวณเชิงผาชู้เป็นจุดที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ในช่วงฤดูหนาวจะสามารถมองเห็นทะเลหมอกได้จาก ยอดผาชู้ และเมื่อหมอกจางจะมองเห็นลำน้ำน่านทอดตัวคดเคี้ยวอยู่ที่ปลายผืนป่า หากจะขึ้นไปชมต้องขึ้นแต่เช้ามืด ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ช่วงใกล้ขึ้นถึงยอดจะเป็นหินแหลมคม จึงต้องเตรียมรองเท้าผ้าใบ ที่ใส่กระชับไปด้วยเพื่อความสะดวกในการปีนป่าย ใช้เวลาในการเดินประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ที่ประสงค์จะเดินขึ้น ยอดผาชู้ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตู้ ปณ.14 อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 55150
 
:: โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง(พมพ.)บ้านมณีพฤกษ์ ::
เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเกษตร มีโครงการทดลองปลูกผลไม้เมืองหนาวสามารถไปแวะชมได้ นอกจากนั้นยังมีดอก เสี้ยวขาวซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด ต้นนางพญาเสือโคร่ง บริเวณโครงการเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง และ เผ่าลั๊วะ สิ่งที่น่าสนใจคือโครงการนี้ ตั้งอยู่บนเทือกดอยภูคาจึงพบต้นชมพูภูคาอยู่หลายกลุ่มแต่ต้นที่สมบูรณ์และนักท่องเที่ยว เข้าไปชมได้อยู่ห่างจากศูนย์ฯ บริการนักท่องเที่ยว 3 - 4 กิโลเมตร รถเข้าถึงปากทาง จากนั้นต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 30 เมตร
 
:: หอศิลป์ริมน่าน ::
  
ก่อตั้งและดำเนินการโดยศิลปินชาวน่าน วินัย ปราบริปู ตั้งอยู่ที่ 122 หมู่ 2 ต.บ่อ ถนนสายน่าน-ท่าวังผา (กม.20) ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกติดแม่น้ำน่าน ในพื้นที่ประกอบด้วยสตูดิโอ บ้านพักรับรอง และอาคารหอศิลป์ ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้น รวมพื้นที่ 13 ไร่ ผู้ก่อตั้งมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมผลงานศิลปะของศิลปินไทยร่วมสมัย ที่มีผลงานการ สร้างสรรค์และรูปแบบที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นที่ยอมรับกัน โดยจัดนิทรรศการประจำปีใน รูปแบบกึ่งถาวร ขณะนี้มีผลงานงานจิตรกรรมและประติมากรรมของผู้ก่อตั้ง ประมาณ 200 ชิ้น เปิดบริการ เวลา 09.00 น. - 17.00 น. ทุกวันพุธ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ปิดวันจันทร์ - อังคาร รายละเอียดสอบถาม โทร.0 5479 8046 (เวลาปกติ), 0 1322 2912 เว็บไซต์ www.nanartgallery.com
 
:: แหล่งเตาเผาและเครื่องเคลือบบ้านบ่อสวก ::
บริเวณบ้านบ่อสวกนี้ในอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองน่าน มีรูปแบบ และกรรมวิธีการผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาเป็นลักษณะเฉพาะของตัวเอง คาดว่าเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาจาก บ้านบ่อสวกคงจะเคยได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะได้ขุดพบตามแหล่งฝังศพของคนในสมัยก่อน โดยเฉพาะแถบ เทือกเขาในเขตอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อเนื่องไปจนถึงจังหวัดตาก และกำแพงเพชร สันนิษฐานว่าการ ผลิตเครื่องเคลือบที่บ้านบ่อสวกเริ่มขึ้นและพัฒนาในสมัยเจ้าพระยาพลเทพฤาชัย (พ.ศ.2071 - 2102) ซึ่งเป็นยุค สมัยแห่งความรุ่งเรืองของเมืองน่าน วิทยาการเตาเผาและเครื่องเคลือบเมืองน่านได้รับจากล้านนา เช่น จากกลุ่มสันกำแพง กลุ่มกาหลง ซึ่งเป็นกลุ่มเตาใกล้นครเชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น